ไม้ยาง A
ลักษณะ : เป็นไม้เนื้ออ่อนและหยาบ มีสีน้ำตาลปนแดง แห่งช้า
คุณสมบัติ : - มีความทนทานพอใช้
- ยืดหดง่าย
- เลื่อย ไส ผ่าง่าย
- ไม้บิดงอตามสภาพภูมิอากาศ
ข้อจำกัด : เสี้ยนมักจะฉีกติดกันเป็นขลุยออกมา ทำให้ขัดหรือทาน้ำมันไม่ค่อยดี ถ้าไสตอนไม้สด ๆ อยู่จะไม่เรียบดีนัก หากใช้ในการก่อสร้างจะรับน้ำหนักมากๆไม่ได้ ใช้ในที่ต้องตากแดตากฝนไม่ได้แต่ถ้าทาสีน้ำมันป้องกันไว้ น้ำหนักต่อ 1 ลูกบาศก์ฟุตประมาณ 40-50 ปอนด์ ก็จะสามารถอยู่ได้
ประโยชน์ : ใช้ทำบ้านเรือน,เครื่องเรือนเฉพาะที่มีราคาถูก ๆ สร้างบ้านใช้ทำฝา ทำฝ้าหรือส่วนที่ไม่ต้องรับน้ำหนัก นิยมใช้กันเพราะราคาถูกและหาง่าย
ไม้ยาง อบน้ำยา
สารเคมีใช้ป้องกันรักษาเนื้อไม้มีคุณสมบัติดังนี้
1. มีความเป็นพิษต่อศัตรูทำลายไม้ เช่น ปลวก มอด
2. มีความคงทนอยู่ในเนื้อไม้ได้นาน
3. มีความสามารถแทรกซึมเข้าไปในเนื้อไม้ได้ดี
4. ไม่ทำให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อเนื้อไม้
5. ไม่ทำให้โลหะเป็นสนิม
6. ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ทำการอาบน้ำยาป้องกันรักษาเนื้อไม้และนำไม้ที่ผ่านการอาบน้ำยาแล้วไปใช้ประโยชน์
ข้อดีของการป้องกันรักษาเนื้อไม้
- ทำให้อายุการใช้งานของไม้ยาวนานขึ้น
-บรรเทาในการหด ยืดและป้องกันการแตกหักและบิดงอ
-ไม้มีความทนทานกำตัดเชื้อเห็ดราที่มีอยู่ในไม้ไม่ให้เกิดขึ้นมาใหม่
- ทำให้นำไม้มาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายขึ้น เช่น งานภายในอาคาร งานภายนอกอาคาร พื้นที่งานใต้ดิน งานที่ต้องใช้ไม้สัมผัสพื้นโดยตรงหรือฝั่งลงในดินหรืองานที่ต้องใช้ไม้สัมผัสน้ำโดยตรงซึ่งจะเป็นน้ำทะเลก็ได้
-ไม้มีน้ำหนักเบา สะดวกในการใช้งาน ทำงานได้ง่ายมากขึ้น
-ในการทาสีจะสามารถติดดีกว่า
- ทำให้มีทางเลือกในการออกแบบงานไม้มากขึ้น โดยเฉพาะบางสถานที่ที่จำเป็นต้องใช้วัสดุที่ความคุณสมบัติเช่นไม้ หรือใช้ในงานตบแต่งให้เกิดความสวยงามต่างๆ
ไม้สน
ลักษณะ : เป็นไม้ประเภทที่มีใบเขียวตลอดปี ไม่มีการผลัดใบในฤดูหนาว พันธุ์ไม้สนที่พบในเมืองไทยมีอยู่ด้วยกันสองชนิดคือสนสองใบและสนสามใบ
คุณสมบัติ :
- ไม้สนยังถือเป็นไม้เนื้ออ่อน แม้ว่าความแข็งแรงของไม้สนบางประเภทจะมีความแข็งแรงใกล้เคียงกับไม้เนื้อแข็งก็ตามแต่ก็ยังจัดให้อยู่ในหมวดไม้เนื้ออ่อนอยู่
- เป็นไม้ธุรกิจที่ถือว่าหาซื้อได้ง่าย
- สามารถนำมาแปรรูปใช้งานได้หลากหลาย
-มีลวดลายสีน้ำตาลที่สวยงาม
-ทนทานต่อการทะลุของไม้
- มีเส้นใยที่มีความต้านทานต่อแรงดึงสูง
ประโยชน์ : ใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์ ทำไม้คิ้ว ไม้บัว วงกบประตู ทำบานประตู ทำโต๊ะ เก้าอี้ รวมถึงยังสามารถนำมาทำเป็นงานตกแต่งต่างๆได้
ไม้สนอบแห้ง
ประโยชน์ของการผึ่งหรืออบ
1. ทำให้ไม้อยู่ตัว มีการยืดและหดตัวน้อย เมื่อนำไม้นั้นไปใช้งานจะไม่ทำให้เกิดเป็นช่องว่างระหว่างรอยต่อ อันเนื่องมาจากการหดตัวของไม้ หรือโค้ง โก่ง จากการขยายตัว
2. ทำให้ลดการถูกทำลายของแมลง เห็ดรา เนื่องจากในไม้สด มีพวกน้ำเลี้ยงและอาหาร พวกแป้งน้ำตาลอยู่มาก ทำให้เหมาะต่อการทำลายของแมลงและเห็ดรา
3. ทำให้ไม้มีน้ำหนักเบาเป็นการลดค่าขนส่งและสะดวกต่อการนำไปใช้
4. ทำให้ไม้มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น
5. ทำให้ไม้มาการดูดซึมน้ำยารักษาเนื้อไม้ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะน้ำยาที่เป็นน้ำมันหรือใช้น้ำมันเป็นตัวทำละลาย
6. ทาสีและทาน้ำมันชักเงาได้ดี
7. ทำให้ไม้เป็นฉนวนความร้อน และฉนวนไฟฟ้าได้ดีขึ้น
ไม้สัก
ลักษณะ : เป็นต้นไม้ที่มีขนาดค่อยข้างใหญ่ ลำต้นของไม้สักนั้นมีลักษณะเปลา ตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น เล็กๆ สีเทาๆ ไม้สักขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันตก และมีอยู่บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
คุณสมบัติ : เป็นไม้ที่มีคุณภาพดีที่สุด เนื้อไม้มีสีเหลือง หากอยู่นานจะกลายเป็นสีน้ำตาลแก่ มีกลิ่นหอม มีน้ำมันในตัว มีเสี้ยนตรง เนื้อไม้หยาบไม่สม่ำเสมอกัน ทนแดด หดตัวน้อย ไม่มีอาการบิดหรือแตกร้าวของไม้ มอดปลวกไม่ค่อยรบกวน เมื่อเลื่อยออกจะเห็นลายได้ชัดเจนสวยงาม เลื่อย ผ่า ไสกบ ตกแต่ง ชักเงาได้ง่าย เป็นไม้ที่ผึ่งและสามารถแห้งได้รวดเร็ว น้ำหนักต่อลูกบาศก์ฟุตประมาณ 35 – 45 ปอนด์
ประโยชน์ : ใช้ในการสร้างสิ่งที่ต้องทำอย่างประณีต ต้องการความสวยงามและทนทานต้องรับน้ำหนักหรือต้านทานมาก สามารถ ผ่า เลื่อย ไสตกแต่ง และชักเงาได้ง่าย ทำประตู หน้าต่าง วัสดุเครื่องใช้ เครื่องเรือนและในการก่อสร้างบ้านเรือน ปลวก มอด ไม่ชอบทำลายเพราะมีสารพวกเทคโทควิโนน (Tectoquinone) อยู่ในตัวไม้
ไม้อากาตีส
ลักษณะ : เป็นไม้ประดับยืนต้นที่สวยงามมาก สูงประมาณ 50 เมตร มีลำต้นตรงแข็งแรงมาก เนื้อไม้มีสีออกเหลืองอ่อน ชอบอากาศร้อนและชื้น มีถิ่นกำเนิด สันนิษฐานว่ามีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินโดนีเซีย
คุณสมบัติ : ไม้อกาตีสเป็นไม้เนื้อละเอียด ไม่เปลี่ยนรูปทรง ทนทาน
ประโยชน์ : นิยมนำไม้อกาตีสมาทำประตู เฟอร์นิเจอร์ กรอบรูปหรือแม้กระทั่งเครื่องดนตรี เพราะเป็นไม้ละเอียด ไม่เปลี่ยนรูปทรง ทนทานเป็นไม้ประดับภายในบ้าน
ไม้เต็งนอก
ลักษณะ : เป็นต้นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ขึ้นเป็นหมู่ตามป่าแดดทั่วไปยกเว้นภาคใต้ ลักษณะเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลอ่อน จนถึงน้ำตาลแก่แกมแดง เสี้ยนสับสน เนื้อหยาบ แต่สม่ำเสมอแข็งแรงและทนทานมาก เมื่อผึ่งให้แห้งแล้วเลื่อยไสตกแต่งจะสามารทำได้ยาก น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 1,040 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ลักษณะคุณสมบัติ :
- เป็นไม้ขนาดใหญ่มีอยู่ทั่วไปเมื่อเลื่อยไสแล้วระยะแรกจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน หากทิ้งไว้นานจะไม้จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่แกมแดง
- เนื้อไม้แข็งและเหนียว มีความแข็งแรงทนทานดีมาก เหมาะแก่การสร้างส่วนที่รับน้ำหนักได้ดี
- ทนแดด
- น้ำหนัก 1 ลูกบาศก์ฟุตหรือประมาณ 60-70 ปอนด์
ข้อจำกัด : เสี้ยนหยาบสับสน ทำให้ไสกบตกแต่งได้ยาก เนื้อไม้มักจะมีรอยร้าวเป็นเส้นผมปรากฏหัวไม้มักแตกเก่ง ฉะนั้นไม้เต็งจึงมักจะไม่ค่อยใช้ในการสร้างสิ่งประณีต
ประโยชน์ : ใช้ทำหมอนรางรถไฟ เครื่องมืออกสิกรรม เก้าอี้ ชิงช้า การสร้างบ้านเรือนที่รับน้ำหนักมาก ด้ามเครื่องมือกสิกรรม โครงสร้างอาคาร เช่น ตง คาน วงกบ ประตูหน้าต่าง โครงหลังคา เสา เป็นต้น
ไม้เต็งใน
ลักษณะ : เป็นไม้เนื้ออ่อนและหยาบ มีสีน้ำตาลปนแดง แห่งช้า
คุณสมบัติ : - มีความทนทานพอใช้
- ยืดหดง่าย
- เลื่อย ไส ผ่าง่าย
- ไม้บิดงอตามสภาพภูมิอากาศ
ข้อจำกัด : เสี้ยนมักจะฉีกติดกันเป็นขลุยออกมา ทำให้ขัดหรือทาน้ำมันไม่ค่อยดี ถ้าไสตอนไม้สด ๆ อยู่จะไม่เรียบดีนัก หากใช้ในการก่อสร้างจะรับน้ำหนักมากๆไม่ได้ ใช้ในที่ต้องตากแดตากฝนไม่ได้แต่ถ้าทาสีน้ำมันป้องกันไว้ น้ำหนักต่อ 1 ลูกบาศก์ฟุตประมาณ 40-50 ปอนด์ ก็จะสามารถอยู่ได้
ประโยชน์ : ใช้ทำบ้านเรือน,เครื่องเรือนเฉพาะที่มีราคาถูก ๆ สร้างบ้านใช้ทำฝา ทำฝ้าหรือส่วนที่ไม่ต้องรับน้ำหนัก นิยมใช้กันเพราะราคาถูกและหาง่าย
ไม้เบญจพรรณ
ลักษณะ : ไม้เบญจพรรณหมายถึงป่าที่มีต้นไม้หลายๆชนิดขึ้นอยู่รวมกัน ซึ่งไม้เบญจพรรณส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ไม้ผลัดใบ เป็นไม้ที่มีทั้งไม้เนื้ออ่อนและไม้เนื้อแข็ง มักจะขึ้นในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนปนทรายและมีความอุดมสมบูรณ์ของดินพอสมควร มีทั้งต้นไม้ขนาดกลางและขนาดใหญ่ ซึ่งนับได้ว่าป่าไม้เบญจพรรณอุดมไปด้วยพรรณไม้ที่เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากมาย นอกจากป่าไม้เบญจพรรณแล้ว ไม้เบญจพรรณยังเป็นไม้ที่ใช้เรียกไม้เนื้อแข็งที่มีไม้หลายชนิดมัดรวมกันไว้
คุณสมบัติ : เป็นไม้เนื้อแข็ง มีความแข็งแรงทนทานของไม้ค่อนข้างมาก
ประโยชน์ : สามารถนำไม้เบญจพรรณไปใช้ในการทำพาเลทหรือไม้รองรับสินค้า
ทำวงกบและใช้ไม้เบญจพรรณในการทำแบบก่อสร้างแต่จะไม่นิยมนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ เพราะเนื้อไม้ไม่สวย