Showing all 2 results

ไม้ปาร์เก้ ไม้แดง

ข้อควรระวัง :  สิ่งที่ต้องระวังในการใช้ไม้ปาร์เก้ก็คือ เนื่องจากไม้ปาเก้ไม่มีลิ้น-ร่อง การทนทานต่อความชื้นจะต่ำ ควรหลีกเลี่ยงการปูพื้นไม้ปาร์เก้ใน บริเวณหน้าห้องน้ำ หรือบริเวณที่เสี่ยงต่อการโดนน้ำท่วม ข้อเสนอแนะ : การเลือกพื้นไม้เพื่อใช้งานมีข้อควรคำนึงหลายประการ ในที่นี้ควรใช้เกณฑ์เกี่ยวกับชนิด ขนาด สี ลักษณะการใช้งาน เพื่อเลือกพื้นไม้ที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบในตลาด โดยจะพิจารณาถึงพื้นไม้จริงเท่านั้น ในประเด็นที่เกี่ยวกับความสวยงามและความคงทนของพื้นแต่ละชนิดเป็นหลัก ลักษณะไม้ : ไม้แดงคือ ไม้ประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญในประเทศไทยของเราเป็นอย่างมากก็คือ ไม้แดง ซึ่งไม้แดงมีลักษณะเป็นไม้เนื้อแข็ง ที่มีความแข็งแรงทนทานมาก ต้นของไม้แดงมีความสูงประมาณ 20-37 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-4 ฟุต เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแดง หรือสีแดงระเรื่อ สวยงามเรียบเนียน และค่อนข้างละเอียด ไม้แดงยังเป็นไม้ที่คงสภาพได้ดี หากผ่านกรรมวิธีการอบแห้ง ไม่ผุพังง่าย สามารถเลื่อยไสตกแต่ง และขัดเงาได้ดี สามารถพบไม้แดงได้ในพื้นที่ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าผลัดใบ เช่น ป่าเต็งรัง หรือป่าแดง เป็นต้น เพราะไม้แดงนั้น เจริญเติบโตได้ดีในที่แห้งแล้ง สภาพดินค่อนข้างลึก ประกอบกับพื้นที่นั้นต้องมีหินแกรนิต หรือหินทรายด้วย ไม้แดงนิยมนำมาใช้ในการปูพื้น การก่อสร้าง ทำเสาไม้แดง คานไม้แดง วงกบไม้แดง เฟอร์นิเจอร์ไม้แดง หรือนำมาพัฒนาเป็นไม้แดงแปรรูป เป็นต้น

ไม้พื้นปาร์เก้ไม้สัก

ข้อควรระวัง :  สิ่งที่ต้องระวังในการใช้ไม้ปาร์เก้ก็คือ เนื่องจากไม้ปาเก้ไม่มีลิ้น-ร่อง การทนทานต่อความชื้นจะต่ำ ควรหลีกเลี่ยงการปูพื้นไม้ปาร์เก้ใน บริเวณหน้าห้องน้ำ หรือบริเวณที่เสี่ยงต่อการโดนน้ำท่วม ข้อเสนอแนะ : การเลือกพื้นไม้เพื่อใช้งานมีข้อควรคำนึงหลายประการ ในที่นี้ควรใช้เกณฑ์เกี่ยวกับชนิด ขนาด สี ลักษณะการใช้งาน เพื่อเลือกพื้นไม้ที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบในตลาด โดยจะพิจารณาถึงพื้นไม้จริงเท่านั้น ในประเด็นที่เกี่ยวกับความสวยงามและความคงทนของพื้นแต่ละชนิดเป็นหลัก ลักษณะของไม้ :  ไม้สัก เป็นต้นไม้ผลัดใบ ขนาดใหญ่มีลำต้นเปลา มักมีพูพอน ตอนโคนต้นเรือนยอดกลม สูงเกินกว่า 20 เมตร เปลือก หนา 0.30-1.70 ซม. สีเทา หรือสีน้ำตาลอ่อนแกมเทา แตกเป็นร่องตื้น ๆ ไปตามทางยาวและหลุดออกเป็นแผ่นบาง ๆ เล็ก ๆ ใบ ใหญ่ ความกว้าง 25-30 ซม. ความยาว 30-40 ซม. รูปใบรีมน หรือรูปไข่กลับ แตกจากกิ่งเป็นคู่ ๆ ท้องใบสากหลังใบสีเขียว แกมเทา เป็นขน ดอก เล็กสีขาวนวล ออกเป็นช่อใหญ่ ๆ ตามปลายกิ่งเริ่มออกดอกเดือน มิถุนายน เป็นต้น ผล ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 ซม. ผลหนึ่ง ๆ มีเมล็ดใน 1-4 เมล็ด เปลือกแข็งมีขนสั้น ๆ นุ่ม ๆสีน้ำตาล หุ้มอยู่ ผลแก่ในราวเดือน พฤศจิกายน-มกราคม ลักษณะเนื้อไม้ สีเหลืองทอง ถึงสีน้ำตาลแก่ มีลายเป็นเส้นสีน้ำตาลแก่แทรก เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แข็งปานกลาง เลื่อยใสกบ ตบแต่งง่าย ไม้สัก ปลวกและมอดไม่ทำอันตราย เพราะในเนื้อไม้สักมีสารเคมีพิเศษอยู่ชนิดหนึ่ง ชื่อ O-cresyl methyl ether สารเคมีชนิดนี้ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ของกรมป่าไม้ มีคุณสมบัติ เมื่อทาหรืออาบไม้แล้วไม้จะมีความคงทนต่อ ปลวก แมลง เห็ดราได้อย่างดียิ่ง นอกจากนี้ในไม้สักทอง ยังพบว่ามีทองคำปนอยู่ 0.5 ppm. (ไม้สักทอง 26 ต้น มีทองคำหนัก 1 บาท) ไม้สัก เป็นไม้เนื้อแข็งตามมาตรฐานของกรมป่าไม้ จากการทดลองตามหลักวิชาการไม้สักมีความแข็งแรงสูงกว่า 1,000 กก./ตร.ซม. และมีความทนทานตามธรรมชาติ จากการทดลองนำส่วนที่เป็นแก่นของไม้สักไปทดลองปักดิน ปรากฏว่า มีความทนทานตามธรรมชาติเกินกว่า 10 ปี (ระหว่าง 11-18 ปี)